เฟรม

เฟรม


เฟรม (Frame)  เป็นการแบ่งพื้นที่การแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ออกเป็นส่วนต่างๆ  โดยที่แต่ละส่วนของเฟรมจะแสดงเว็บเพจได้เป็นอิสระต่อกัน  และสามารถเลือกชมข้อมูลแต่ละส่วนได้โดยใช้ Scroll Bar ข้อดีของการใช้เฟรมเพื่อจัดหน้าเว็บ คือ  สามารถแสดงเว็บเพจได้หลายหน้าในจอภาพเดียวกัน  ดังนั้นนักพัฒนาเว็บจึงสามารถกำหนดพื้นที่สำหรับนำเสนอเนื้อหาตามที่ต้องการได้  ซึ่งในเว็บเพจ 1 หน้า  ไม่ว่าจะแบ่งเฟรมออกเป็นกี่ส่วนก็ตาม  เมื่อถูกบันทึกเป็นไฟล์เว็บเพจแล้ว  จะเรียกรวมว่า เฟรมเซ็ต (Frameset)” 

หลักการออกแบบเว็บเพจด้วยเฟรมสำคัญที่ดังนี้

1.กำหนดทางเลือกให้กับผู้ใช้งาน   เนื่องจากเฟรมมีข้อจำกัดด้านการใช้งานหลายประการ  เช่น  การรองรับการแสดงผลในเว็บบราวเซอร์รุ่นเก่า  ดังนั้นนักพัฒนาเว็บจึงควรสร้างเครื่องมือบนหน้าเว็บ  เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีรุ่นเก่าที่ไม่สนับสนุนเฟรม  โดยสร้างหน้าเว็บที่ไม่มีการแบ่งเฟรมให้ผู้ใช้สามารถสลับการใช้งานได้  

หมายเหตุ  ปัจจุบันในโปรแกรมสร้างเว็บหลายชนิด  เช่น Dreamweaver 8.0 ได้พัฒนาเมนูคำสั่ง “Edit NoFrames Comtent”  เพื่อให้ผู้ออกแบบเว็บสร้างเว็บเพจในรูปแบบหน้าเว็บปกติที่ไม่มีการแบ่งเฟรมควบคู่ด้วยได้

2.การกำหนด URL ของเฟรม  เว็บเพจที่ออกแบบด้วยเฟรม  เป็นการรวมกลุ่มของเฟรมหรือ Frameset ในลักษณะซ้อนกันไว้  และแต่ละเฟรมต่างก็เป็นอิสระต่อกัน  ดังนั้น URL ที่ปรากฏอยู่ในช่อง Address จึงไม่ใช่ URL ของทุกเว็บเพจที่อยู่ในแต่ละเฟรม 

หมายเหตุ  URL ที่ไม่ตรงกับเฟรมย่อยในเฟรมเซ็ต  ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถสร้างบุ้คมาร์ค (Bookmark)”  บนหน้าเว็บเพื่อมให้เว็บบราวเซอร์จดจำหน้าเว็บดังกล่าวไว้  เมื่อต้องการเข้ามายังหน้าเว็บนี้ในภายหลังได้  และไม่สามารถใช้ปุ่ม “Back Button” เพื่อย้อนกลับมาดูหน้าเว็บก่อนหน้าที่รับชมข้อมูลได้ด้วย

        ตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาการระบุ URL ของเว็บเพจข้างต้น  สามารถทำได้โดยกำหนดค่าที่แอททริบิวต์ Target (ในขั้นตอนสร้างเว็บ)  ให้มีค่าเป็น “_blank”  เว็บบราวเซอร์ก็จะเปิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาทุกครั้งที่มีการคลอกเชื่อมโยง  นั่นหมายความว่า URL ที่แสดงขึ้นมาก็จะเป็น URL ของเพจหน้านั้นจริง  

3.การออกแบบหน้าเว็บเพื่อพิมพ์ข้อมูลบนกระดาษ   ข้อมูลที่อยู่ในเฟรมย่อยทำให้ผู้ใช้สั่งพิมพ์ข้อมูลลงบนกระดาษได้ยาก  ดังนั้นจึงควรมีการออกแบบหน้าเว็บเพื่อพิมพ์ลงบนกระดาษ  ซึ่งทำได้โดยกำหนดสไตล์ชีทสำหรับจัดรูปแบบการนำเสนอที่แอททริบิวต์ “media” ในแท็ก <link> ให้มีค่าเป็น “print”  และสามารถดูรูปแบบการแสดงผลดังกล่าวได้ที่มุมมองก่อนพิมพ์ (Print Preview)” ซึ่งควรกำหนดรูปแบบข้อมูลโดยให้ข้อมูลสามารถพิมพ์ลงกระดาษขนาดเท่ากับ A4 ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้งานกัน


แสดงตัวอย่างรูปแบบการนำแสดงผลเว็บเพจเมื่อพิมพ์ลงบนกระดาษในเว็บ www.w3.org

           การตรวจสอบความละเอียดของจอภาพที่แสดงผล  การอกแบบเฟรมนิยมใช้มาตรฐานความละเอียดของจอภาพที่ 800x600 พิกเซล  กรณีที่มีการกำหนดขนาดของเฟรมไว้แน่นอน  แล้วนำเว็บเพจดังกล่าวไปแสดงในอุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็กกว่า  อาจทำให้ข้อมูลบางส่วนขาดหายไป  ดังนั้นการออกแบบเว็บเพจโดยใช้เฟรม  จึงไม่เหมาะสำหรับแสดงผลข้อมูลบนอุปกรณ์ที่มีจอภาพแสดงผลขนาดเล็ก  และควรกำหนดหน่วยในการแบ่งพื้นที่ของเฟรมแบบแปรผัน (Variable) โดยใช้หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์  เพื่อลดปัญหาการเลื่อนตำแหน่งของเฟรมเมื่อขนาดหน้าต่างเว็บบราวเซอร์หรือขนาดตัวอักษรเปลี่ยนไป